ต่อภาษีรถ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์และรถจักรยานยนต์

รวมวิธีต่อ พ.ร.บ. ต่อภาษี รถยนต์และรถจักรยานยนต์ 2567

6 กุมภาพันธ์ 2567

การต่อ พ.ร.บ. ต่อภาษี รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำในทุก ๆ ปี ในบทความนี้ เราจะมาอัปเดตข้อมูล พร้อมวิธีต่อ พ.ร.บ. และต่อภาษี รวมถึงการต่อภาษีทางออนไลน์ เอกสารที่ต้องเตรียม ต่อได้ที่ไหนบ้างให้สะดวก รวดเร็ว อ่านจบแล้วทำตามได้เลย

การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์และรถจักรยานยนต์คืออะไร?

การต่อ พ.ร.บ. หรือประกันภัยรถภาคบังคับ ตามกฎหมาย รถทุกคันไม่ว่าจะรถยนต์ หรือ รถมอเตอร์ไซค์ จำเป็นต้องมี ไม่เช่นนั้นถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้รับความคุ้มครองหากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือ อนามัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากรถได้ทันท่วงที เมื่อมีการต่อ พ.ร.บ. เรียบร้อยแล้วจึงนำไปยื่นต่อภาษีรถในขั้นตอนต่อไป

เอกสารสำคัญในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์และรถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง?

  1. เอกสารคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถ ที่ระบุรายละเอียดรถ ทะเบียนรถ ผู้ครอบครอง และประเภทรถ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถ นำเอกสารไปยื่นต่อ พ.ร.บ. กับบริษัทประกันรถยนต์ทั่วประเทศ หรือ ตัวแทนนายหน้า ในปัจจุบันการต่อพ.ร.บ. ยังสามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว ผ่านระบบ e-service ของกรมการขนส่งทางบกได้อีกด้วย

การต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์คืออะไร?

การต่อภาษีรถ หรือจะเรียกว่าการต่อทะเบียนรถ เป็นการยืนยันว่ารถคันดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่รถเถื่อน หรือรถไม่มีทะเบียน ซึ่งจะต้องทำการต่อไปในทุกปีเช่นกัน สามารถต่อทะเบียนรถล่วงหน้าก่อนจะหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน หากต่อภาษีช้าก็จะถูกคิดอัตราปรับ แต่หากไม่มีการต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียน ถ้าจะใช้รถต้องขึ้นทะเบียนใหม่เท่านั้น

เอกสารสำคัญในการต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง?

  1. เล่มทะเบียน หรือสำเนาเล่มทะเบียน
  2. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถใบตรวจสภาพรถ โดยกรมการขนส่งได้กำหนดเงื่อนไขดังนี้รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และ รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี จะต้องนำรถไปสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ต.ร.อ) เพื่อตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี
  3. พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

ต่อภาษีรถยนต์และรถจักยานยนต์ที่ไหนได้บ้าง?

นอกจากต่อภาษีรถได้ที่กรมการขนส่งทางบกแล้ว ยังสามารถต่อภาษีในสถานที่เอกชนได้อีกหลายแห่ง เมื่อเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว ก็เลือกต่อภาษีในช่องทางที่สะดวกได้ดังต่อไปนี้

  1. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 5 ซึ่งมีบริการแบบ Drive Thru for Tax หรือ เลื่อนล้อต่อภาษี โดยต้องเตรียมเอกสาร ได้แก่ เล่มทะเบียน พ.ร.บ. และใบผ่านการตรวจรถ หากรถยนต์มีอายุการใช้งาน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ใช้งานเกิน 5 ปี ต้องมีใบผ่านการตรวจรถด้วย ที่สำคัญต้องเตรียมจำนวนเงินให้พอดี เพื่อยื่นเอกสารพร้อมชำระเงินได้ทันที สะดวกสบาย ไม่ต้องลงจากรถ
  2. สำหรับในต่างจังหวัด ติดต่อที่กรมการขนส่งทางบกของจังหวัด
  3. ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ ห้างสรรพสินค้า ที่เข้าร่วมโครงการ Shop Thru for Tax ตามวัน และเวลา ได้ดังนี้
  4. ห้างสรรพสินค้า ที่เข้าร่วมโครงการ Shop Thru for Tax ตามวัน และเวลา ได้ดังนี้
  5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  6. เคาน์เตอร์เซอร์วิส

กรมการขนส่งทางบก ได้เพิ่มช่องทางในการชำระภาษีรถ 7 ช่องทาง

โดยเผยแพร่ ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการชำระภาษีประจำปี สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2564 ไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการชำระภาษีรถยนต์ สำหรับ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก และรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (รย.12) ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก

สรุประเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการชำระภาษีรถประจำปี ดังนี้

  1. ชำระภาษีรถประจำปีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์์ https://eservice.dlt.go.th
  2. ชำระภาษีประจำปีผ่านการหักบัญชีเงินฝากธนาคาร
  3. ชำระภาษีประจำปีผ่านเทสโก้โลตัส
  4. ชำระภาษีประจำปีสำหรับรถผ่านหน่วยบริการของ บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  5. ชำระภาษีประจำปีสำหรับรถผ่านหน่วยบริการของ บริษัท ทรู มันนี่
  6. ชำระภาษีประจำปีผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
  7. ชำระภาษีรถประจำปีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ผ่านตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) และแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

การต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทางออนไลน์ผ่านระบบ e-service

ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกเปิดให้บริการยื่นชําระภาษีรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ทางออนไลน์ซึ่งเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด สถิติประจำเดือนพฤษภาคม 2564 มีจำนวนผู้ใช้บริการ ผ่านทางเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th สูงถึง 50,753 คัน ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ๆ

การต่อภาษีรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ในระบบ e-service มีเงื่อนไขคือ รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งาน เกิน 5 ปี จะต้องนำรถไปสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ต.ร.อ) เพื่อตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีทางออนไลน์

วิธีลงทะเบียนยื่นต่อภาษีทางออนไลน์

1. เข้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

ต่อภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ผ่านระบบ e-service

2. ลงทะเบียนสมาชิกใหม่ กรอกข้อมูล และ Log-in เข้าสู่ระบบอีกครั้ง

วิธีต่อภาษีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ออนไลน์

3. ไปที่ส่วนของ “บริการ” และ คลิกเมนู “ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต”

ไปที่ส่วนของ “บริการ” และ  คลิกเมนู “ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต

4. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ รายละเอียดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี

กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ  รายละเอียดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระ

5. เลือกวิธีการชำระเงิน

  1. หักผ่านบัญชีธนาคาร
  2. ชำระผ่านบัตรเครดิต
  3. ชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบสถานะการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร ผ่านระบบ e-service การรับเอกสารใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และ พ.ร.บ. โดยรอรับเอกสารทางไปรษณีย์ประมาณ 5 วันทำการ ถือว่าเป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการอย่างมาก ไม่ต้องเดินทาง หรือไปต่อคิวที่กรมการขนส่ง ดูคู่มือและการใช้งาน e-service

สรุป

การต่อ พ.ร.บ.และการต่อภาษี รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องใส่ใจ ไม่ให้หมดอายุ เพราะหากไม่ได้ต่อภาษี อาจทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ และมีค่าปรับ หรือ หากรถไม่มีพ.ร.บ. ก็จะถือว่าผิดกฎหมาย และมีค่าปรับด้วยเช่นกัน